2551-08-18

ปรับเปลี่ยนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ลองดูนะ

เชื่่อว่าทุกวันนี้หนุ่มสาววัยทำงานหลายคน ต้องทำงานกันหนักมากขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับว่า วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ก็ยังไม่ค่อยพอ แถมเหนื่อยก็เหนื่อย บางคนกลายเป็นมนุษย์บ้างาน ไม่มีเวลาให้ตัวเองเลย ยิ่งครอบครัวไม่ต้องพูดถึง ดังนั้น เรามาร่วมเรียนรู้เทคนิคที่จะช่วยให้เราขี้เกียจกันได้! แต่ยังได้ผลงานที่เหมือนเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมกันดีกว่า!!! กับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยเติมพลังให้กับการทำงานในแต่ละวัน อันนี้ไม่ได้โม้นะ เพราะคุณอภิชาติ สิริผาติ ผู้เขียนพ็อกเกตบุ๊ก เรื่อง "เงินเดือนนิดเดียว ต้องเหนื่อยให้น้อยที่สุด" แนะนำวิธีเปลี่ยนตัวเองอย่างง่ายได้ไว้ได้อย่างน่าสนใจดังนี้ค่ะ
ทบทวนตัวเอง วันละ 10 นาท
หลังเลิกงานทุกวัน หาเวลาสัก 10 นาที ลองทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง ตั้งแต่เช้าถึงเย็นแล้ว วิเคราะห์ดูว่า มีงานหรือวิธีการทำงานใดที่ทำไปในวันนี้ แล้วมีวิธีทำให้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น เหนื่อยน้อยลงหรือเปล่า? แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูค่ะ
ทบทวนตัวเอง สัปดาห์ละ 30 นาที
ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ลองทบทวนดูว่า เวลาของตัวเองที่เกี่ยวกับการทำงานหมดไปกับเรื่องอะไรบ้าง การประชุม โทรศัพท์ งานเอกสาร การอิจฉาคิดร้ายคนอื่น หรืออื่นๆ และดูว่าสิ่งนั้นทำให้เกิดผลผลิตหรือเปล่า ทำอย่างไรให้เหนื่อยน้อยลง แต่ได้งานเหมือนเดิมหรือมากขึ้น กิจกรรมใดควรตัดออกไปบ้าง
เลิกเคยชินซะบ้าง
อย่าชินกับสิ่งที่ทำกันอยู่ทุกวัน มองหาวิธีที่ง่ายกว่า ประหยัดกว่า หรือเหนื่อยน้อยกว่า เพราะพวกเรามักใช้ชีวิตกันตามความเคยชินเป็นหลัก จนหลายสิ่งที่เราทำกลายเป็นสัญชาตญาณ และไม่เคยนึกหรือถามตัวเองว่ามีวิธีที่ดีหรือเหนื่อยน้อยกว่านั้นหรือไม่ เช่น หลายคนยังชินกับการรับส่งเอกสารทางแฟกซ์ ซึ่งสามารถทดแทนได้โดยใช้อีเมล
ทำตัวให้มีเสน่ห์
ความมีเสน่ห์จะช่วยให้การทำงานราบรื่นขึ้น แล้วก็เหนื่อยน้อยลงด้วย คนที่มีเสน่ห์มักมีคนให้ความร่วมมือในการทำงานมากขึ้น ถ้าใครคิดว่าตัวเองยังไม่มีเสน่ห์ล่ะก้อ ลองหัดดูค่ะ เติมเสน่ห์ให้ตัวเองสักนิด อาจเริ่มต้นง่ายๆ เช่น พูดจาดี ยิ้มเก่ง รู้จักชมผู้อื่น (มีกฎว่าวันหนึ่งคุณควรชม (อย่างจริงใจนะ) เพื่อนร่วมงานอย่างน้อยสัก 3 คน) เป็นต้น
ไม่เห็นด้วย ต้องพูดดังๆ
หลายคนเหนื่อยฟรี! เพราะต้องทำงาน 2-3 รอบ โดยเฉพาะเมื่อทำงานกับคนที่มีตำแหน่งใหญ่กว่า เนื่องจากการไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้ง ทั้งๆ ที่รู้ว่างานนั้นควรทำอย่างไร ฉะนั้น หากไม่เห็นด้วย มีความเห็นอย่างไรควรพูดออกไป ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้คนอื่นมองเห็นหลายๆ ด้าน ถึงแม้จะเปลี่ยนคำสั่งไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราจะได้แสดงความสามารถของเรา และไม่โดนตำหนิภายหลังว่า รู้แล้วทำไมไม่พูด
ลำดับความสำคัญ
การรู้ว่าควรต้องทำงานไหนก่อน งานไหนทำทีหลัง ทำให้เหนื่อยน้อยลงได้มาก เพราะการไม่ทำงานสำคัญก่อนและต้องมาเร่งทำแข่งกับเวลาจะเป็นสิ่งที่สร้างความเครียด ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจตุ๊มๆ ต่อมๆ กลัวเสร็จไม่ทัน และอาจต้องอยู่ทำงานดึกได้
ทำอะไร ทำให้เสร็จ
การทำงานอย่างละนิดละหน่อย เปลี่ยนไปเปลี่ยน
จะทำให้ไม่มีความต่อเนื่องลืมบางสิ่งบางอย่างและอาจรู้สึกเบื่อได้ เพราะจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรเสร็จสักอย่าง และมักทำให้ต้องเหนื่อยมากกว่าเดิม งานไม่มีประสิทธิภาพ ฉะนั้น
หากเริ่มงานสิ่งใดพยายามทำให้เสร็จไปเป็นอย่าง ๆ ตั้งเป้าประจำวัน และทำให้เสร็จ
พยายามตั้งเป้าให้ตัวเองทุกวันว่า วันนี้เรามีงานอะไรจะทำให้เสร็จบ้าง โดยจดเป็นเช็กลิสต์ไว้และอาจผสมงานยากงานง่าย งานที่สามารถทำให้เสร็จได้ในวันเดียวไว้ด้วยกัน และมุ่งมั่นทำให้ได้ตามนั้น การที่สามารถทำอะไรให้เสร็จได้ทุกวัน จะทำให้รู้สึกมีความคืบหน้าทุกวันและความเหนื่อยน้อยลง
ไม่พูดแบบนักการเมือง
ความหมายนี้ก็คือ พยายามฝึกพูดให้สั้น ตรงประเด็น เข้าใจง่าย มีการสรุปสาระสำคัญความต้องการ โดยสามารถสื่อให้คนฟังเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าต้องทำอะไร เราคาดหวังอะไร ต้องรู้จักสรุปความคิดของตัวเองให้ชัดเจน ตกผลึกก่อนที่จะถ่ายทอดให้คนอื่น เพราะถ้าตัวเองยังไม่ชัดเจน ย่อมถ่ายทอดความไม่ชัดเจนออกไปด้วยเช่นกัน
ลองใส่ "วันใหม่ๆ" ลงไปในปฏิทินของคุณ
ข้อสุดท้ายของการลอง "ปรับ-เปลี่ยนแปลงตัวเอง"
แนะนำให้ใช้วิธีเขียนวันใหม่ๆ โดยใช้ปากกาเน้นแถบสีสดๆ ใส่ลงไปในปฏิทิน เช่น "วันเก็บโต๊ะทำงาน" วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ "วันเคลียร์ไฟล์ในคอมพิวเตอร์" สำหรับวันอังคารและวันพุธ "วันทบทวนระบบทำงาน" ในวันจันทร์และวันอังคารของสัปดาห์ต่อไป ส่วนวันศุกร์กันไว้ให้เป็น "วันเคลียร์เอกสารที่ไม่ใช้" สัปดาห์ต่อไปอาจไม่มีวันใหม่ๆ แต่ก็อย่าลืม!!! "วันทบทวนตัวเอง" ไว้สักวันในอาทิตย์ก่อนที่เดือนนี้จะสิ้นสุดลง

ก่อนที่โอลิมปิกจะปิดฉากลง มีอะไรดี ๆส่งท้าย

ประวัติโอลิมปิก

ก่อนหน้าคริสตกาลกว่า 1,000 ปี การแข่งขันกีฬาได้ดำเนินการกันบนยอดเขา "โอลิมปัส" ในประเทศกรีก โดยนักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขันเพื่อประกวดความสมส่วนของร่างกาย และยังมีการต่อสู้บางประเภท เช่น กีฬาจำพวกมวยปล้ำ เพื่อพิสูจน์ความแข็งแรง ผู้ชมมีแต่เพียงผู้ชายห้ามผู้หญิงเข้าชม ดังนั้นผู้ชมจะต้องขึ้นไปบนยอดเขา ครั้นต่อมามีผู้นิยมมากขึ้นสถานที่บนยอดเขาจึงคับแคบเกินไป จึงทำให้ไม่เพียงพอที่จุ ทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้ทั้งหมด งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn

ดังนั้น ในปีที่ 776 ก่อนคริสตกาลชาวกรีกได้ย้ายที่แข่งขันกันที่เชิงเขาโอลิมปัส และได้ปรับปรุงการแข่งขันเสียใหม่ให้ดีขึ้น โดยให้ผู้เข้าเข่งขันสวมกางเกง พิธีการแข่งขันจึงจัดอย่างมีระเบียบเป็นทางการ มีจักรพรรดิมาเป็นองค์ประธาน อนุญาตให้สตรีเข้าชมการแข่งขันได้แต่ไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขัน ประเภทกรีฑาที่มีการแข่งขันที่ถือเป็นทางการในครั้งแรกนี้มีกีฬาอยู่ 5 ประเภท คือ การวิ่ง
กระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลนและขว้างจักร ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งๆ จะต้องเล่นทั้ง 5 ประเภท โดยผู้ชนะจะได้รับรางวัล คือ มงกุฎที่ทำด้วยกิ่งไม้มะกอก ซึ่งขึ้นอยู่บนยอดเขาโอลิมปัสนั่นเอง และได้รับเกียรติเดินทางท่องเที่ยวไปทุกรัฐในฐานะตัวแทนของพระเจ้า และการแข่งขันได้จัดขึ้น ณ เชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิสที่เดิมเป็นประจำทุกๆ สี่ปี และถือปฏิบัติต่อกันมาโดยไม่เว้น เมื่อถึงกำหนดการแข่งขัน ทุกรัฐจะต้องให้เกียรติ หากว่าขณะนั้นกำลังทำสงครามกันอยู่จะต้องหยุด
พักรบ และมาดูนักกีฬาของตนแข่งขัน หลังจากเสร็จจากการแข่งขันแล้วจึงค่อยกลับไปทำสงครามกันใหม่ ประเภทของการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในระยะต่อๆ มา โดยมีการพิจารณาและลดประเภทของกรีฑาเรื่อยมา อย่างไรก็ดีในระยะแรกๆ นี้กรีฑา 5 ประเภทดังกล่าวจัดแข่งขันกันในครั้งแรก ก็ยังได้รับเกียรติให้คงไว้ ซึ่งเรียกกันว่า "เพ็นตาธรอน" หรือ "ปัญจกรีฑา" ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงกำเนิดของกรีฑา ในปัจจุบันก็ยังมีการแข่งขันกันอยู่ แต่ประเภทของปัญจกรีฑาได้เปลี่ยนตามยุคและกาลสมัย



การแข่งขันได้ดำเนินติดต่อกันมานับเป็นเวลาถึง 1,200 ปี จนมาในปี ค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดอซิดุช แห่งโรมัน ได้ทรงประกาศให้ยกเลิกการแข่งขันนั้นแสีย เพราะเกิดมีการว่าจ้างกันเข้ามาเล่นเพื่อหวังรางวัล และผู้เล่นปรารถนาสินจ้างมากกว่าการเล่นเพื่อสุขภาพของตน รวมทั้งมีการพนันขันต่อ อันเป็นทางวิบัติซึ่งผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิมคือ ผู้เข้าแข่งขันทั้งหลายต่างก็อยากได้ช่อลอเรล ซึ่งเป็นรางวัลของผู้ชนะด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงสั่งให้ล้มเลิกการแข่งขันที่เป็นประเพณีอันดีงามนี้ตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันนั้น ได้จัดขึ้นบริเวณ ณ ที่แห่งเดียวเชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส จึงเรียกการแข่งขันตามชื่อของสถานที่นั้นว่า "การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก"

หลังจากโอลิมปิกโบราณได้ล้มเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ศตวรรษ โอลิมปิกยุคใหม่เกิดขึ้น โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ "บารอน ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง" ท่านขุนนางผู้นี้เกิดในกรุงบารีสเมื่อ 1 มกราคม 2406 สนใจประวัติศาสตร์ ปัญหาการเมืองและสังคมในปี พ.ศ. 2432 ท่านอายุได้ 26 ปี ได้เกิดความคิดที่จะฟื้นฟูการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งได้ล้มเลิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) โดยติดต่อกับบุคคลสำคัญของประเทศอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศสเป็นเวลาถึง 4 ปี ในที่สุดได้เปิดการประชุมอันไม่เป็นทางการขึ้นที่ตำบลซอร์บอนน์ ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 และประกาศ ณ ที่นั้นว่าการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งได้หยุดมานานกว่า 15 ศตวรรษ จักได้ฟื้นขึ้นใหม่เป็นการปัจจุบัน และแผนการของงานโอลิมปิกปัจจุบันนั้นได้เป็นที่ตกลงกันในที่ประชุมจำนวน 15 ประเทศ ณ ตำบลซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส คณะกรรมการผู้ริเริ่มได้ลงมติว่ามิให้ทำการเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้น โดยกำหนด 4 ปีต่อ 1 ครั้งและให้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศเครือสมาชิก แต่การเปิดแข่งขันครั้งแรกให้เริ่ม ณ กรุงเอเธนส์ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการกำเนิดกีฬาโอลิมปิกเมื่อครั้งโบราณ จากนั้นเป็นต้นมาการแข่งขันและวิธีเล่นกรีฑาก็พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง และการแข่งขันทุกๆ ครั้งให้ถือเอากรีฑาเป็นกีฬาหลัก ซึ่งจะขาดเสียมิได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง

การที่จะกำหนดว่าประเทศใดจะได้เป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป ณ สถานที่ที่ทำการแข่งขันครั้งสุดท้ายดำเนินอยู่นั้นเองคณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะเข้าประชุมพิจารณา
ในบรรดาประเทศสมาชิกที่เสนอขอจัดและมีอำนาจเด็ดขาดที่จะลงมติให้ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นทางการในวันพิธีเปิดการแข่งขันครั้งสุดท้ายนั้น ประเทศที่ได้รับพิจารณาให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับความไว้วางใจ อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อปวงชนทั้งประเทศ

ในปัจจุบันประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิกของโอลิมปิก 197 ประเทศ แต่บางประเทศไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพราะเป็นประเทศเล็กขาดความพร้อมในเรื่องตัวนักกีฬาท่านบารอน ปิแอร์เดอ ดูเบอร์แตง ไม่ให้นิยามการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่เลือกผิวพรรณ ศาสนา ลัทธิการปกครองแต่อย่างใดความหมายการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาชาติต่างๆ ได้มาร่วมชุมนุมกัน ตัวนักกีฬาเปรียบเสมือนทูตสันถไมตรีส่งมาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ร่วมเล่นสนุกสนานด้วยความเห็นอกเห็นใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดทั้งสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อันนำมาซึ่งความสามัคคีและเพื่อสันติภาพของโลก การแพ้หรือชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ "การเข้าร่วม"

รางวัลของการแข่งขัน ในสมัยโบราณผู้ที่ชนะจะได้รับการสรรเสริญมาก รางวัลที่ให้แก่ผู้ชนะในสมัยนั้น คือ "กิ่งไม้มะกอก"ซึ่งตัดมาจากยอดเขาโอลิมปัส อันเป็นที่สิงสถิตของพระเจ้าซีอูซ แล้วทำเป็นวงคล้ายมงกุฎจักรพรรดิจะเป็นผู้พระราชทานครอบลงบนศรีษะของผู้ชนะนั้นๆ พร้อมทั้งได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ชนรุ่นหลังศึกษาและชื่นชมต่อไป สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันแบ่งรางวัลเป็นสามระดับ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญบรอนซ์ ให้แก่ผู้ชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศที่สอง และที่สามตามลำดับ ส่วนที่สี่ไปถึงอันดับที่ 6 จะได้ประกาศนียบัตรการเข้าร่วมการแข่งขันโคมไฟโอลิมปิก เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิกจะมีการจุดไฟขึ้นสว่างไสว ในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าจึงจุไฟกองใหญ่ขึ้นบนยอดเขาโอลิมปัส เพื่อเป็นสัญญาณ

ประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าการเฉลิมฉลองได้เริ่มขึ้นแล้ว การจุดไฟเริ่มแรกนั้นเขาทำพิธีกันบนยอดเขาโอลิมปัส ใช้แว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์พุ่งไปยังเชื้อเพลิงเมื่อเกิดไฟแล้วจึงนำตะเกียงต่อเอาไว้ส่วนไฟกองใหญ่
จะคงลุกโชติช่วงต่อไปจนตลอดงานฉลอง ส่วนตะเกียงนั้นจะมีการวิ่งถือไปทั่วทุกนครรัฐด้วยการส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ จากนักวิ่ง คนละ 2 ไมล์หากผ่านทะเล หรือแม่น้ำก็จะลงเรือข้ามฟากโดยไฟไม่ดับ ไฟนี้ชาวกรีก ถือว่าเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ และความสงบสุขของชาวกรีก ซึ่งพระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อบุคคลที่ไม่สนใจในกิจการนี้โอลิมปิก ปัจจุบันก็ยังคงรักษาประเพณีเรื่องการจุดไฟไว้ดังเดิมทุกประการ กล่าวคือ ก่อนจะมีการแข่งขันจะมีพิธีจุดไฟ ณ เขาโอลิมปัส ผู้จุดคือสาวพรหมจารีย์ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ต่อไฟจากแว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์ด้วยคบเพลิง และไฟนี้จะถูกแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก และข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ประเทศเจ้าภาพ และมีการวิ่งถือคบเพลิงส่งต่อกันไปจุดที่กระถางใหญ่บริเวณงานในวันแรกของพิธีเปิดการแข่งขัน ไฟจะต้องไม่ดับตั้งแต่เริ่มจุด ณ ภูเขาโอลิมปัส จนกระทั่งกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้นๆ

ธงโอลิมปิกมีผืนธงเป็นสีขาว ขนาดมาตรฐานยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ส่วนเครื่องหมายห้าห่วงคล้องกันอยู่บนกลางธง ขนาด 2 เมตร คูณ 0.60 เมตร มีสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา คล้องไขว้กันอยู่ตรงกลางสองแถว แถวบน 3 ห่วงแถวล่าง 2 ห่วง ห่วงสีที่คล้องกันอยู่ตรงกลางธงบนพื้นธงสีขาว รวมเป็น 6 สี โดยแท้จริงแล้ว ห้าห่วง หมายถึง ห้าส่วนของโลกที่อยู่ในโอบอ้อมของ "โอลิมปิกนิยม" มิเจาะจงเป็นห้าทวีปในโลก อย่างที่เข้าใจกัน แต่บังเอิญห้าทวีปนี้ก็เป็นห้าส่วนของโลกก็เลยอนุโลมกันไปเช่นนั้น ส่วนสีที่ห่วง 5 สี มิได้หมายถึงสีประจำทวีป ซึ่งสีทั้งหมด 6 สี รวมทั้งสีขาวที่เป็นพื้นธง หมายความว่า ธงชาติของประเทศต่างๆ ในโลกประกอบด้วยสีใดสีหนึ่งหรือกว่านั้นในจำนวนหกสีนั้น และไม่มีธงชาติของประเทศใดที่มีสีนอกเหนือไปนอกจากหกสีนี้

ข้อมูลจาก : การกีฬาแห่งประเทศไทย
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...